080 175 2000 info@53ac.com

การนำผลขาดทุนสะสม ไปใช้ในการคำนวณภาษี

ในการประกอบธุรกิจ แน่นอนว่าเจ้าของกิจการคงอยากได้ยินคำว่า กำไร มากกว่าที่จะได้ยินคำว่า ขาดทุน ซึ่งในทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีอากรแล้ว เมื่อกิจการมีกำไรสุทธิก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่หากกิจการขาดทุนสุทธิก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่เพื่อให้ไม่ต้องเกิดความเสียหายต่อกิจการที่มีผลขาดทุนนั้น จึงได้มีกฎหมายประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (12) ที่ยอมให้กิจการสามารถนำผลขาดทุนสุทธิไปหักออกจากกำไรสุทธิในปีถัด ๆ ไปได้อีกภายใน 5 ปี

 

ในที่นี้มีตัวอย่างของการนำผลขาดทุนสุทธิสะสมมาใช้ในการคำนวณภาษีมาแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติทางบัญชี โดยได้ยกตัวอย่างกรณีบันทึกผลขาดทุนสะสมที่ถูกต้องและที่มีข้อผิดพลาด รวมทั้งการปรับปรุงผลขาดทุนสะสมเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้องต่อไป ดังนี้

 

  1. กรณีบันทึกผลขาดทุนสะสมถูกต้อง หน่วย : ล้านบาท
รอบระยะ

เวลาบัญชี

กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ใช้ผล

ขาดทุน

ผลขาดทุน

สะสม

คงเหลือ

หมายเหตุ
กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ
2554 90 90 ไม่เสียภาษีเพราะขาดทุน
2555 15 15 75 ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม

มาหักออกจากกำไร

2556 20 20 55 ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม

มาหักออกจากกำไร

2557 10 10 45 ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม

มาหักออกจากกำไร

2558 7 7 38 ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม

มาหักออกจากกำไร

2559 18 18 20 ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม

มาหักออกจากกำไร

2560 25 เสียภาษีจากกำไร 25 ล้าน เพราะ

ขาดทุนสะสมเกิน 5 รอบฯ

 

ผลขาดทุนไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี หมายความว่าการนำผลขาดทุนยกมาตามวิธีการบัญชี โดย

นำผลขาดทุน มาหักกับกำไรสุทธิแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าหักแล้วยังขาดทุนเหลืออยู่ก็สามารถยกไปหักในปีถัดไปได้ ต้องยกไล่ตามลำดับของรอบระยะเวลาบัญชี ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าผลขาดทุนสะสมจะหมดแต่ถ้าเกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ก็จะไม่สามารถนำผลขาดทุนสะสมที่เหลือมาหักได้อีกตามตัวอย่างข้างต้น

 

  1. กรณีบันทึกผลขาดทุนผิดพลาด หน่วย : ล้านบาท
รอบระยะ

เวลาบัญชี

กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ใช้ผล

ขาดทุน

ผลขาดทุน

สะสม

คงเหลือ

หมายเหตุ
กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ
2554 100
2555 90
2556 86
2557 95 95
2558 85 180
2559 70 60 120 ใช้ผลขาดทุนผิด
2560 110 110 10

 

จากการใช้ผลขาดทุนผิดพลาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 ซึ่งที่ถูกสามารถนำผลขาดทุนมาใช้ 70 ล้านบาท แต่ได้นำผลขาดทุนมาใช้เพียง 60 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ต้องเสียภาษีจากกำไร 10 ล้านบาท และกิจการยังคงนำผลขาดทุน 120 ล้านบาทยกไปใช้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 เพียง 110 ล้านบาท ซึ่งยังคงเหลือผลขาดทุนยกไป 10 ล้านบาท โดยมีตัวอย่างที่จะเป็นการปรับปรุงผลขาดทุนที่ใช้ผิดพลาด ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รอบระยะ

เวลาบัญชี

กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ใช้ผล

ขาดทุน

สละสิทธิ์ ผลขาดทุนสะสมคงเหลือ
กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ
2554 100
2555 90
2556 86
2557 95 95
2558 85 180
2559 70 60 120 0
2560 110 0 0

 

การนำผลขาดทุนมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องนำผลขาดทุนสะสมทางภาษีย้อนหลังไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีมาหักในปีที่มีกำไรเพื่อคำนวณภาษี จะต้องใช้อย่างต่อเนื่อง จะข้ามหรือเว้นเพื่อหักในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นไม่ได้ ดังนั้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 เท่ากับว่าต้องสละสิทธิ์ผลขาดทุนสะสมที่ไม่ได้นำมาใช้ 120 ล้านบาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ 110 ล้านบาท

 

ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างประกอบเพื่อแสดงให้ท่านเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติทางภาษีอากรหากทำการศึกษาจะพบว่า มีกฎหมายให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีค่อนข้างมาก และหากมีการปฏิบัติถูกต้องก็ไม่ต้องเสียผลประโยชน์จากการบันทึกบัญชี รวมทั้งจะได้เป็นการลดความเสี่ยงต่อการต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในภายหลังได้ด้วย