080 175 2000 info@53ac.com

ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร

ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. เขตลปลอดอากรนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
  2. เขตปลอดอากรในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
  3. เขตลปลอดอากรนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

ขั้นตอนในการขออนุญาตเพื่อที่จะประกอบธุรกิจนอกพื้นที่ปลอดอากรนั้น มีดังนี้

  • ขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่
  • ขออนุญาตจากกรมโรงงาน
  • ขออนุญาตจากกรมศุลกากร

เขตปลอดอากรในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

ขั้นตอนในการขออนุญาตเพื่อที่จะประกอบธุรกิจในพื้นที่ปลอดอากรนั้น มีดังนี้

  • ขออนุญาตจากนิคมอุตสาหกรรม
  • ขออนุญาตจากกรมศุลกากร

ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตในเขตปลอดอากรนั้น จะต้องมีคุณสมบัติตามนี้

  • นิติบุคลที่ชำระทุนจดทะเบียนแล้วไม่ต่ำกว่า 5ล้านบาท เว้นแต่กรณีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากรในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหรือพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
  • ได้รับความยินยอมให้ประกอบกิจการจากผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากร
  • เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือพื้นที่ที่ขอประกอบกิจการในเขตปลดอากร
  • เป็นกิจการที่มีฐานะการเงินที่มั่งคง โดยพิจารณาจากงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรอง ซึ่งต้องไม่มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว สำหรับนิติบุคลที่จดทะเบียนใหม่ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อประการกอบพิจารณาด้วย
  • ต้องดำเนินกิจการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งเขตปลอดอากร

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

ตรวจสอบและพิจารณาคำขอ 7 วัน
ทำสัญญาประกันและทัณฑ์บน 15 วัน

ค่าธรรมเนียม

ประเภท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 5,000 บาท
ค่าธรรมเนียมรายปี 15,000 บาท

 เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร

  • คำขอเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบ
  • สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคล
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ก่อนวันยื่นคำขอ
  • สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
  • สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินที่ขอประกอบกิจการ
  • หนังสือยินยอมจากผู้ได้รับอนุมัติจัดตั้งเขตปลอดอากร
  • งบการเงินที่ได้รับการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตย้อนหลัง 3 ปี หรือ ผลการดำเนินงานอย่างอื่น
  • แบบแปลนแผนผังสถานที่ตั้งสถานประกอบกิจการในเขตปลอดอากร
  • รายละเอียดการขอประกอบกิจการในเขตปลอดอากร
    1. วัตถุประสงค์
    2. ประเภทของกิจการ
    3. แผนงานและกระบวนการผลิต
    4. แหล่งเงินทุน

หมายเหตุ: ก่อนที่ จะดำเนินการขออนุญาต คุณจะต้องเช็คสินค้าของคุณ ว่า สินค้าของคุณสามารถนำเข้ามาในเขตพื้นที่ปลอดอากรได้หรือไม่ หลังจากที่เช็คแล้วว่า สินค้าของคุณสามารถนำเข้ามาในเขตปลอดอากรได้ คุณจึงจะสามารถขออนุญาตจากนิคมอุตสาหกรรมได้ แต่ขนาดของพื้นที่ ในการที่จะให้เช่านั้น จะขึ้นอยู่กับ สินค้าของคุณด้วย หลังจากที่ นิคมอุตสาหกรรมตัดสินใจให้เช่าแล้ว ให้ดำเนินการขออนุญาตผ่านทางนิคมเลยทั้งหมดรวมทั้งกระบวนการที่ศุลกากร ดังนั้นคุณจำเป็นจะต้องไปพบเจ้าหน้าที่ที่นิคมอุสาหกรรม เพื่อที่จะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจของท่านก่อน

 

 

 3,051 total views,  1 views today