ในปัจจุบัน โลกเริ่มเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการทำงานเช่นที่ผ่านมา แต่ได้หลอมรวมเข้ากับชีวิตประจำวันของคนอย่างแท้จริง เปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การค้า การบริการ และกระบวนการทางสังคมอื่นๆ
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้ทาการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของปี 59 ในช่วงเดือน มี.ค. – พ.ค. 59 จากกลุ่มตัวอย่าง 16,661 คนทั่วประเทศ โดยกระจายอยู่ในทั้ง Gen X (ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป), Y (ปี พ.ศ. 2524–2543), Z (ปี พ.ศ. 2508–2523) และ Baby Boomer (ปี พ.ศ. 2489–2507) พบสิ่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1.คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6.4 ชั่วโมงต่อวัน (หรือ 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
2.การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนประมาณ 85.5% ของประชากร เฉลี่ย 6.2 ชั่วโมงต่อวัน
3.กิจกรรม 5 อันดับแรกของการใช้อินเทอร์เน็ต
จากการที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ทุกอาชีพล้วนต้องปรับตัวให้ทันกระแสโลกด้วยและการเตรียมตัวก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ยุคที่ธุรกิจจะต้องแข่งขันกันด้วยความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ชอบความสะดวกสบาย และใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการชีวิตประจาวัน ดังนั้นธุรกิจที่ตัดสินใจได้เร็วกว่า ย่อมได้โอกาสมากกว่า และข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีถือเป็นส่วนประกอบอันสำคัญต่อการนาไปใช้ในการตัดสินใจและการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ นอกจากจะช่วยบอกสถานะการเงินในปัจจุบันของธุรกิจแล้ว ยังสามารถบอกทิศทางของธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย หรือถือได้ว่า“บัญชีเป็นหัวใจสาคัญของการบริหารธุรกิจ” ผู้บริหารในยุคปัจจุบันจึงคาดหวังให้นักบัญชีขยายบทบาทออกไปจากความรับผิดชอบในเรื่องของการบัญชีและการจัดทารายงานต่างๆ ไปสู่บทบาทที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น เช่น การมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานบัญชีรวมทั้งการวิเคราะห์และนาเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ดังนั้น นักบัญชีในยุคดิจิทัลต้องวางแผนและมองการณ์ไกล ต้องมีการพัฒนาศักยภาพต่างๆ นอกจากความรู้ทางด้านบัญชีแล้ว นักบัญชียังต้องพัฒนาความรู้ด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีหรือความรู้ข้ามศาสตร์มากขึ้นทั้งเรื่องของการเงิน เศรษฐศาสตร์ การเมืองกฎหมาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นยุคดิจิทัล นักบัญชีต้องมีความเข้าใจในธุรกิจ มีความเข้าใจด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ สามารถนำความรู้รอบด้านและเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการประยุกต์ใช้กับงานบัญชีได้ และต้องเปลี่ยนบทบาทจากเพียงผู้สนับสนุนข้อมูล มาเป็นผู้นาเสนอข้อมูล ช่วยวางแผนวิเคราะห์ และเป็นที่ปรึกษาที่ดีในการช่วยตัดสินใจทางธุรกิจได้ ประกอบกับโลกที่ไร้พรมแดน
เรื่องของภาษาจึงถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ
นอกจากทักษะเชิงวิชาการดังกล่าวแล้ว นักบัญชียังต้องพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ อีกเพื่อช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะความร่วมมือ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเป็นเหตุเป็นผลทักษะชีวิต เป็นต้น และมีความตื่นตัวในการพัฒนาตนเองอย่างสม่าเสมอ เพราะผู้ที่รอบรู้มากกว่าจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบกว่า ความรู้และทักษะเหล่านี้นักบัญชีสามารถนามาประยุกต์ใช้กับงานบัญชีได้ จะทำให้นักบัญชีเป็นที่ยอมรับมากขึ้นกุญแจที่จะนาไปสู่ความสาเร็จในยุคดิจิทัลจึงไม่ใช่เพียง “ความรู้” แต่คือ “ทักษะ” หรือเรียกว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และอีกส่วนที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “การมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ” เพราะการที่ประเทศจะพัฒนาเป็นยุค Thailand 4.0 ได้อย่างยั่งยืน นอกจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว การพัฒนาคนถือว่าเป็นหัวใจสาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ เพราะคนคือรากฐานที่สาคัญของประเทศ
ที่มา : เว็บไซท์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
www.dbd.go(dot)th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000 หรือ 080 175 2000
โทร 080 286 2000 ; 080 287 2000
โทร 02 933 5511 ; 02 933 5512
แฟ็กซ์. 02 933 5890
อีเมล์: info@53ac.com , สำเนาถึง: 53ac.com@gmail.com
Line ID: nara53
10,979 total views, 6 views today